วิสัยทัศน์และบทบาทหน้าที่



                           
 วิสัยทัศน์
          การมาตรฐานไทยส่งผลให้สินค้าและบริการเป็นที่ยอมรับ และแข่งขันได้ในระดับสากล
 นโยบาย
          มุ่งมั่นดำเนินงานด้านการมาตรฐาน เพื่อส่งเสริมและพัฒนาอุตสาหกรรมให้เกิดประโยชน์สูงสุด แก่ผู้ประกอบการ ผู้บริโภคและประเทศชาติโดยรวม
 วัตถุประสงค์การดำเนินงาน
          1. คุ้มครองผู้บริโภค
          2. รักษาสิ่งแวดล้อม และทรัพยากรธรรมชาติ
          3. พัฒนาอุตสาหกรรมของประเทศให้สามารถแข่งขันได้ในตลาดโลก
          4. สร้างความเป็นธรรมในการซื้อขายขจัดปัญหา และอุปสรรคทางการค้าที่เกิดจากมาตรการด้านมาตรฐาน
 อำนาจหน้าที่
          สมอ. มีอำนาจหน้าที่ในการปฏิบัติงานตามพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511 มติคณะรัฐมนตรี นโยบายรัฐบาล แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ นโยบายและแผนแม่บทของกระทรวงอุตสาหกรรม
 พันธกิจ
          1. กำหนดมาตรฐานที่ตรงความต้องการและสอดคล้องกับแนวทางสากล
          2. กำกับดูแลผลิตภัณฑ์ และการตรวจสอบและรับรองด้านการมาตรฐานให้ได้รับการยอมรับ
          3. ส่งเสริมและพัฒนาด้านการมาตรฐานของประเทศ
 ค่านิยม สมอ.
Trustworthinessการสร้างความเชื่อมั่น
Integrityจริยธรรม
Synergyการผนึกกำลังเพื่อผลสัมฤทธิ์
Internationalizationความเป็นสากล
 กิจกรรมด้านการมาตรฐานของ สมอ.
          1. การกำหนดมาตรฐาน
                    1.1 มาตรฐานระดับประเทศ
                              กำหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (มอก.) ประเภทบังคับและไม่บังคับตามความต้องการ และการขยายตัวของอุตสาหกรรม การค้า และเศรษฐกิจของประเทศ รวมทั้งนโยบายของรัฐบาล เพื่อคุ้มครองผู้บริโภค รักษาสิ่งแวดล้อม และทรัพยากรธรรมชาติ และส่งเสริมให้ภาคอุตสาหกรรมไทยแข่งขันได้ในตลาดโลก
                    1.2 มาตรฐานระดับสากล
                              ร่วมกำหนดมาตรฐานกับองค์กรสากลที่สำคัญคือ องค์การระหว่างประเทศว่าด้วยการมาตรฐาน (International Organization for standardization : ISO) คณะกรรมาธิการระว่างประเทศว่าด้วยมาตรฐานสาขาอิเล็กทรอนิกส์ (International Electrotechnical Commission : IEC)
          2. การรับรองคุณภาพผลิตภัณฑ์
                    2.1 การรับรองตามมาตรฐานของประเทศ
                              สมอ. ให้การรับรองคุณภาพผลิตภัณฑ์ โดยการอนุญาตให้แสดงเครื่องหมายมาตรฐาน จำนวน 2 แบบ คือ

เครื่องหมายมาตรฐานทั่วไป

เครื่องหมายมาตรฐานบังคับ
                    2.2 การรับจดทะเบียนผลิตภัณฑ์
                              สมอ. ให้การรับรองคุณภาพผลิตภัณฑ์ สำหรับผลิตภัณฑ์ที่ยังมิได้กำหนดมาตรฐาน โดยการจดทะเบียนผลิตภัณฑ์ ตามมติคณะรัฐมนตรี
                    2.3 การเป็นหน่วยตรวจให้กับสถาบันมาตรฐานต่างประเทศ
                              สมอ.ได้รับมอบหมายให้เป็นหน่วยตรวจของสถาบันมาตรฐานต่างประเทศ เพื่อรับรองคุณภาพผลิตภัณฑ์ตามมาตรฐานของประเทศญี่ปุ่น (JIS MARKS) ประเทศสาธารณรัฐสังคมนิยมประชาธิปไตยศรีลังกา และประเทศสาธารณรัฐฟิลิปปินส์ นอกจากนี้ยังตรวจติดตามผลให้กับประเทศสาธารณรัฐอาฟริกาใต้ (SABS) ด้วย
                    2.4 การรับรองฉลากเขียว (Green Label)
                              สมอ. ร่วมกับสถาบันสิ่งแวดล้อมไทยดำเนินโครงการฉลากเขียวเพื่อให้การรับรอง โดยให้ใช้ฉลากเขียวสำหรับผลิตภัณฑ์ ทั้งนี้เพื่อช่วยลดมลภาวะจากสิ่งแวดล้อม และเพื่อผลักดันให้ผู้ผลิตใช้เทคโนโลยี หรือวิธีการผลิต ที่ให้ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อย
          3. การรับรองคุณภาพผลิตภัณฑ์ชุมชน (มผช.)
                    เป็นการให้การรับรองคุณภาพผลิตภัณฑ์ชุมชนของผู้ผลิตในชุมชนที่เกิดจากการรวมกลุ่มกันประกอบกิจกรรมใด กิจกรรมหนึ่ง หรือชุมชนในโครงการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ที่ผ่านการคัดเลือกจากจังหวัด และ/หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน ที่สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม ได้ประกาศกำหนดไว้ และจะแสดงเครื่องหมายมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชนกับผลิตภัณฑ์ที่ได้รับการรับรอง
          4. การรับรองระบบงาน
                    4.1 การรับรองความสามารถห้องปฏิบัติการ
                              สมอ. ได้ดำเนินการรับรองขีดความสามารถทางวิชาการ และระบบคุณภาพ การทดสอบของห้องปฏิบัติการสอบเทียบและห้องปฏิบัติการทดสอบตามมาตรฐานข้อกำหนดทั่วไปว่าด้วยความสามารถของห้องปฏิบัติการสอบเทียบและห้องปฏิบัติการทดสอบ (มอก.17025-2543) ซึ่งเหมือนกันทุกประการกับ ISO/IEC 17025 ซึ่งขอบข่ายของการรับรองอาจเป็นการรับรองการทดสอบหรือสอบเทียบทุกรายการหรือบางรายการของห้องปฏิบัติการก็ได้
                    4.2 การจดทะเบียนบุคลากร ผู้ทรงคุณวุฒิ หลักสูตรและองค์กรฝึกอบรมด้านการมาตรฐาน
                              เป็นการให้การจดทะเบียนบุคลากร ผู้ทรงคุณวุฒิด้านการประเมินการจดทะเบียนหลักสูตรผึกอบรมและองค์กรฝึกอบรมด้านการมาตรฐานในกลุ่มสาขาต่าง ๆ ได้แก่ ระบบการบริหารงานคุณภาพ ระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม ระบบการวิเคราะห์อันตรายและจุดวิกฤตที่ต้องควบคุมในการผลิตอาหาร ระบบห้องปฏิบัติการทดสอบและห้องปฏิบัติการสอบเทียบระบบการจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัยระบบการรับรองผลิตภัณฑ์และระบบอื่น ๆ ตามมาตรฐานสากลหรือมาตรฐานอื่น ๆ ที่สากลยอมรับ
          5. การบริการข้อสนเทศมาตรฐาน
                    5.1 บริการข้อสนเทศด้านการมาตรฐาน
                              โดยให้ข้อมูลและตอบข้อซักถามทางวิชาการเกี่ยวกับมาตรฐาน กฎระเบียบทางวิชากากร และการรับรองคุณภาพทั้งของไทยและต่างประเทศ
                    5.2 เป็นศูนย์ตอบข้อซักถาม
                              (Enquiry Point) ของไทย ภายใต้ความตกลงว่าด้วยอุปสรรคทางเทคนิคต่อการค้า(TBT) ขององค์การการค้าโลก(WTO)
                    5.3 บริการข้อมูลด้านการมาตรฐานผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตที่ http://www.tisi.go.th
                    5.4 บริการห้องสมุดมาตรฐาน สมอ.
                              โดยเป็นศูนย์รวมเอกสารมาตรฐานทั้งของไทยและของต่างประเทศ ตลอดจนเอกสารทางด้านการรับรองคุณภาพ กฎระเบียบทางวิชาการและเอกสารอื่น ๆ ที่ครบถ้วนและทันสมัยทั้งในรูปของเอกสารและไมโครฟิล์ม
          6. การปฏิบัติตามพันธกรณีความตกลงภายใต้องค์การการค้าโลก
                    สมอ. เป็นแกนกลางในการปฏิบัติตามพันธกรณีตามมติคณะรัฐมนตรี ได้แก่ ความตกลงว่าด้วยอุปสรรคทางเทคนิคต่อการค้า (Agreement on Technical Barriers to Trade : TBT) ยกเว้นส่วนที่เกี่ยวข้องกับสินค้าเกษตรและอาหาร
          7. งานด้านการมาตรฐานระหว่างประเทศและภูมิภาค
                    7.1 กิจกรรมมาตรฐานระหว่างประเทศ สมอ.
                              ได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกในองค์การระหว่างประเทศว่าด้วยการมาตรฐาน (International Organization for Standardization :ISO) และคณะกรรมาธิการระหว่างประเทศว่าด้วยมาตรฐานสาขาอิเล็กทรอเทคนิกส์(International Electrotechnical Commission : IEC) นอกจากนี้ยังได้ร่วมดำเนินงานกับ Internaional Personal CertificationAssociation IPC ด้านการรับรองหน่วยงานที่ให้บริการฝึกอบรมและขึ้นทะเบียนบุคลากรด้านตรวจประเมินรวมทั้งร่วมดำเนินการรับรองห้องปฏิบัติการทดสอบกับ International Laboratory Accreditation Conference ILAC
                    7.2 กิจการมาตรฐานภูมิภาค สมอ.
                              ได้เข้าร่วมกิจกรรมงานด้านมาตรฐาน และการรับรองในส่วนภูมิภาคกับASEAN Consultative Committee for Standards and Quality ACCSQ และ Asia PacificEconomic Cooperation :Standards and conformance Sub-Committee (APEC/CTI/SCSC) นอกจากนี้ยังได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกในกลุ่ม Pacific Area Standards Congress PASC
          8. การส่งเสริมมาตรฐานและพัฒนาด้านการมาตรฐาน
                    สมอ. ดำเนินการส่งเสริมและสนับสนุนให้ภาคเอกชน และหน่วยงานภาครัฐพัฒนาระบบการจักการให้สอดคล้องกับหลักปฏิบัติมาตรฐานสากล เพื่อประโยชน์ในการพัฒนาขีดความสามารถของอุตสาหกรรม และเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันทางการค้าระหว่างประเทศ และส่งเสริมเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ สร้างความเข้าใจแก่ผู้ผลิต ผู้บริโภค และผู้เกี่ยวข้องทุกระดับ เพื่อให้ตระหนักถึงความสำคัญของคุณภาพ และการมาตรฐาน และนำไปใช้ เพื่อประโยชน์ในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ
          9. การพัฒนาบุคลากร
                    สมอ. ได้ดำเนินการพัฒนาบุคลากรด้านการมาตรฐานทั้งภาครัฐ และเอกชนให้มีขีดความสามารถที่จะดำเนินการด้านมาตรฐาน ให้สอดคล้องกับสากล และเป็นที่ยอมรับ